การแสดงผล
ขนาดตัวอักษร

สศท. ร่วมงาน “วันต่อต้านคอร์รัปชัน” ในนามกระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2566

       สศท. เข้าร่วมงาน “วันต่อต้านคอร์รัปชัน” ในนามกระทรวงพาณิชย์ โดยมีผู้แทนจาก 4 สำนัก ดังนี้ คุณรดาธร เรืองแสงอร่าม ฝ่ายพัฒนาความร่วมมือวิเทศสัมพันธ์และบริหารความเสี่ยง (สย.) คุณภวิศากร มาเอี่ยม ฝ่ายกฎหมายและทรัพย์สินทางปัญญา คุณวิภาดา อบมา ฝ่ายบัญชี การเงินและงบประมาณ (สอ.) และคุณดุลยวิทย์ ศุขรัตน์ ฝ่ายสร้างสรรค์สื่อ (สจ.) ซึ่งลำดับที่ 2-4 เป็นผู้ประพฤติตนตามหลักประมวลจริยธรรมของ สศท. พ.ศ. 2564-2565 วันพุธที่ 6 กันยายน 2566 ระหว่างเวลา 07.30-11.00 น. ณ สถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ (บางซื่อ) กรุงเทพมหานคร

     
       งาน “วันต่อต้านคอร์รัปชัน 2566” จัดโดย องค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น (ประเทศไทย) ในห้วข้อ WHAT THE FACT?  ACT Ai (Web App) เครื่องมือต้านโกง ซึ่งงานดังกล่าวแสดงพลังคนไทยต่อต้านคอร์รัปชัน พร้อมส่งเสียงถึงรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์ และประกาศนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน ในการขับเคลื่อนนโยบายราชการ “เพื่อให้ข้าราชการได้รับความเป็นธรรม ที่เป็นจุดเริ่มต้นอันดับแรก คือ การป้องกันคอร์รัปชัน ในการซื้อขายตำแหน่ง โดยการมุ่งเป้าในการวางตัวผู้บริหารที่ได้มาอย่างโปร่งใส เพื่อป้องกัน การคอร์รัปชั่น ให้กับผู้ดำรงตำแหน่งในทุกภาคส่วน ซึ่งถือเป็น Key Success factors ที่สำคัญ

 

        ภายในงานเริ่มด้วยการกล่าวเปิดกิจกรรมโดย นายวิเชียร พงศธร ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น และเวทีเสวนา “ACTIVE WOMEN” โดยเชิญผู้มีอิทธิพลทางความคิดในภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษาประจำสภามหาวิทยาลัย และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คุณอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ คุณปรินดา คุ้มธรรมพินิจ ผู้ประกาศข่าว คุณณัฏฐา มหัทธนา นักวิเคราะห์ประเด็นสังคม และคุณจงใจ กิจแสวง เจ้าของแบรนด์หมูทอดเจ๊จง ดำเนินรายการโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน นอกจากนี้ ยังมีการแนะนำแสดงฟังก์ชั่นการใช้งานเว็บไซต์ “ACT Ai” ที่เปิดให้ประชาชนร่วมตรวจสอบโครงการทุจริตได้ง่าย ๆ โดย คุณหนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังด้านไอที

        อนึ่ง องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) กำหนดให้วันที่ 6 กันยายนของทุกปีเป็น “วันต่อต้านคอร์รัปชัน” และจัดงานต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา เพื่อสร้างการรับรู้กระตุ้นให้คนในสังคมเล็งเห็นถึงปัญหาคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และเพื่อสร้างความร่วมมือในหลากหลายรูปแบบที่จะช่วยขจัดปัญหา คอร์รัปชันให้หมดไป


       ในปี 2566 ได้นำเสนอเครื่องมือที่จะสนับสนุนภาคประชาชนให้มีส่วนร่วมตรวจสอบการทุจริต การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐและเอกชนให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะชน เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้และแบ่งปันเรื่องราว บทบาทของประชาชน สร้างแรงบันดาลใจ ให้เห็นถึงอำนาจในมือของทุกคนในการจับทุจริต

 

รายงานโดย : สำนักยุทธศาสตร์และวิเทศสัมพันธ์ ฝ่ายพัฒนาความร่วมมือวิเทศสัมพันธ์และบริหารความเสี่ยง